อาเซียน (ASEAN)เป็นการรวมตัวกันของ 10 ประเทศ ในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผู้นำอาเซียนได้ร่วมลงนามในปฎิญญาว่าด้วย ความร่วมมืออาเซียนเห็นชอบ ให้จัดตั้ง ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) คือ เป็นองค์กรระหว่างประเทศ ระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีจุดเริ่มต้นโดยประเทศไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ได้ร่วมกันจัดตั้ง สมาคมอาสา (Association of South East Asia) เมื่อเดือน ก.ค.2504 เพื่อการร่วมมือกันทาง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม แต่ดำเนินการ ไปได้เพียง 2 ปี ก็ต้องหยุดชะงักลง เนื่องจากความผกผันทางการเมืองระหว่างประเทศอินโดนีเซียและประเทศมาเลเซีย จนเมื่อมีการฟื้นฟูสัมพันธ์ทางการฑูต
ระหว่างสองประเทศ
จึงได้มีการแสวงหาหนทางความร่วมมือกันอีกครั้งและสำเร็จภายในปี พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020) แต่ต่อมาได้ตกลงร่นระยะเวลาจัดตั้งให้เสร็จในปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015) ในปีนั้นเองจะมีการเปิดกว้างให้ประชาชนในแต่ละประเทศสามารถเข้าไปทำงานในประเทศ อื่น ๆ ในประชาคมอาเซียนได้อย่างเสรี เสมือนดังเป็นประเทศเดียวกัน
ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการประกอบอาชีพและการมีงานทำของคนไทย ควรทำความเข้าใจในเรื่องนี้จึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับทุกคน
องค์ความรู้ “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) >>ไปที่http://www.thai-aec.com/
ความเป็นมาของอาเซียน
สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of Southeast Asian Nations หรือ ASEAN) ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) หรือ ปฏิญญาอาเซียน (ASEAN Declaration) เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 โดยมีประเทศสมาชิก 5 ประเทศ ประกอบด้วย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย เพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคม ของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต่อมามีประเทศสมาชิกเพิ่มเติม ได้แก่ บรูไนดารุส-ซาลาม เวียดนาม ลาว เมียนมาร์ และกัมพูชา ตามลำดับ จึงทำให้ปัจจุบันอาเซียน มีสมาชิก 10 ประเทศ
“อาเซียน” สู่การเป็นประชาคมอาเซียน ในปี 2558
ปัจจุบัน บริบททางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ทำให้อาเซียนต้องเผชิญสิ่งท้าทายใหม่ๆ อาทิ โรคระบาด การก่อการร้าย ยาเสพติด การค้ามนุษย์ สิ่งแวดล้อม ภัยพิบัติ อีกทั้ง ยังมีความจำเป็นต้องรวมตัวกันเพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองและขีดความสามารถทางการแข่งขันกับประเทศในภูมิภาคใกล้เคียง และในเวทีระหว่างประเทศ ผู้นำอาเซียนจึงเห็นพ้องกันว่า อาเซียนควรจะร่วมมือกันให้เหนียวแน่น เข้มแข็ง และมั่นคงยิ่งขึ้น จึงได้ประกาศ “ปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมือในอาเซียน ฉบับที่ 2” (Declaration of ASEAN Concord II) ซึ่งกำหนดให้มีการสร้างประชาคมอาเซียนที่ประกอบไปด้วย 3 เสาหลัก ได้แก่
– ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political and Security Community – APSC) มุ่งให้ประเทศกลุ่มสมาชิกอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข แก้ไขปัญหาระหว่างกันโดยสันติวิธี มีเสถียรภาพและความมั่นคงรอบด้านเพื่อความมั่นคงปลอดภัยของเหล่าประชาชน
– ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community – AEC) มุ่งเน้นให้เกิดการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจ และความสะดวกในการติดต่อค้าขายระหว่างกันเพื่อให้ประเทศสมาชิกสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่นๆได้โดย
– ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio – Cultural Community – ASCC) มุ่งหวังให้ประชากรอาเซียนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดี มีความมั่นคงทางสังคม มีการพัฒนาในทุกๆ ด้าน และมีสังคมแบบเอื้ออาร โดยจะมีแผนงานสร้างความร่วมมือ 6 ด้าน คือการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์การคุ้มครองและสวัสดิการสังคมสิทธิและความยุติธรรมทางสังคมความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมการสร้างอัตลักษณ์อาเซียนการลดช่องว่างทางการพัฒนา
ซึ่งต่อมาผู้นำอาเซียนได้ตกลงให้มีการจัดตั้งประชาคมอาเซียนให้แล้วเสร็จเร็วขึ้นมาเป็นภายในปี 2558
ประชาคมอาเซียนคือ
ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) คือ การรวมตัวของกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนให้เป็นชุมชนที่มีความแข็งแกร่ง สามารถสร้างโอกาสและรับมือส่งท้าท้าย ทั้งด้านการเมืองความมั่นคง เศรษฐกิจ และภัยคุกคามรูปแบบใหม่ โดยสมาชิกในชุมชนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดี สามารถประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น และสมาชิก ในชุมชนมีความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
จุดประสงค์หลักของอาเซียน
ปฏิญญากรุงเทพฯ ได้ระบุวัตถุประสงค์สำคัญ 7 ประการของการจัดตั้งอาเซียน ได้แก่
1. ส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยีวิทยาศาสตร์ และการบริหาร
2. ส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงส่วนภูมิภาค
3. เสริมสร้างความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจพัฒนาการทางวัฒนธรรมในภูมิภาค
4. ส่งเสริมให้ประชาชนในอาเซียนมีความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดี
5. ให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในรูปของการฝึกอบรมและการวิจัยและส่งเสริมการศึกษาด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
6. เพิ่มประสิทธิภาพของการเกษตรและอุตสาหกรรม การขยายการค้าตลอดจนการปรับปรุงการขนส่งและการคมนาคม
7. เสริมสร้างความร่วมมืออาเซียนกับประเทศภายนอก องค์การความร่วมมือแห่งภูมิภาคอื่นๆ และองค์การระหว่างประเทศ
ภาษาอาเซียน
ภาษาทางการที่ใช้ในการติดต่อประสานงานระหว่างประเทศสมาชิก คือ ภาษาอังกฤษ
คำขวัญของอาเซียน
“หนึ่งวิสัยทัศน์หนึ่งเอกลักษณ์ หนึ่งประชาคม”
(One Vision, One Identity, One Community)
อัตลักษณ์อาเซียน
อาเซียนจะต้องส่งเสริมอัตลักษณ์ร่วมกันของตนและความรู้สึกเป็นเจ้าของในหมู่ประชาชนของตน เพื่อให้บรรลุชะตา เป้าหมาย และคุณค่าร่วมกันของอาเซียน
สัญลักษณ์อาเซียน
คือ ดวงตราอาเซียนเป็น
รูปมัดรวงข้าว สีเหลืองบนพื้นวงกลม
สีแดงล้อมรอบด้วยวงกลมสีขาว และสีน้ำเงิน
รวงข้าวสีเหลือง 10 ต้นหมายถึง ความใฝ่ฝันของบรรดาสมาชิกในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ทั้ง 10 ประเทศ ให้มีอาเซียนที่ผูกพันกันอย่างมีมิตรภาพและเป็นหนึ่งเดียว
วงกลม เป็นสัญลักษณ์แสดงถึงเอกภาพของอาเซียน
ตัวอักษรคำว่า asean สีน้ำเงิน อยู่ใต้ภาพรวงข้าว แสดงถึงความมุ่งมั่นที่จะทำงานร่วมกันเพื่อความมั่นคง สันติภพ เอกภาพ และความก้าวหน้าของประเทศสมาชิกอาเซียน
สีเหลือง : หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง
สีแดง : หมายถึง ความกล้าหาญและการมีพลวัติ
สีขาว : หมายถึง ความบริสุทธิ์
สีน้ำเงิน : หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง
ธงอาเซียน
ธงอาเซียนเป็นธงพื้นสีน้ำเงิน มีดวงตราอาเซียนอยู่ตรงกลาง แสดงถึงเสถียรภาพ สันติภาพ ความสามัคคี และพลวัตของอาเซียน
สีของธงประกอบด้วย สีน้ำเงิน สีแดง สีขาว และสีเหลือง ซึ่งเป็นสีหลักในธงชาติของบรรดาประเทศสมาชิกของอาเซียนทั้งหมด
วันอาเซียน
ให้วันที่ 8 สิงหาคมของทุกปีเป็นวันอาเซียน
เพลงประจำอาเซียน (ASEAN Anthem)
คือ เพลง ASEAN WAY
กฎบัตรอาเซียน
กฎบัตรอาเซียน กำหนดให้อาเซียนและประเทศสมาชิกปฏิบัติตามหลักการดังต่อไปนี้
1. เคารพเอกราช อธิปไตย ความเสมอภาค บูรณภาพแห่งดินแดน และอัตลักษณ์แห่งชาติของรัฐสมาชิกอาเซียนทั้งปวง
2. ผูกพันและรับผิดชอบร่วมกันในการเพิ่มพูนสันติภาพ ความมั่นคง และความมั่งคั่งของภูมิภาค
3. ไม่รุกรานหรือข่มขู่ว่าจะใช้กำลังหรือการกระทำอื่นใดในลักษณะที่ขัดต่อกฎหมายระหว่างประเทศ
4. ระงับข้อพิพาทโดยสันติ
5. ไม่แทรกแซงกิจการภายในของรัฐสมาชิกอาเซียน
6. เคารพสิทธิของรัฐสมาชิกทุกรัฐในการธำรงประชาชาติของตนโดยปราศจากการแทรกแซง การบ่อนทำลาย และการบังคับจากภายนอก
7. ปรึกษาหารือที่เพิ่มพูนขึ้นในเรื่องที่มีผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อผลประโยชน์ร่วมกันของอาเซียน
8. ยึดมั่นต่อหลักนิติธรรม ธรรมาภิบาล หลักการประชาธิปไตยและรัฐบาลตามรัฐธรรมนูญ
9. เคารพเสรีภาพพื้นฐาน การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน และการส่งเสริมความยุติธรรมทางสังคม
10. ยึดถือกฎบัตรสหประชาชาติและกฎหมายระหว่างประเทศ รวมถึงกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ ที่ รัฐสมาชิกอาเซียนยอมรับ
11. ละเว้นจากการมีส่วนร่วมในการคุกคามอธิปไตย บูรณภาพแห่งดินแดนหรือเสถียรภาพทางการเมืองและเศรษฐกิจของรัฐสมาชิกอาเซียน
12. เคารพในวัฒนธรรม ภาษา และศาสนาที่แตกต่างของประชาชนอาเซียน
13. มีส่วนร่วมกับอาเซียนในการสร้างความสัมพันธ์กับภายนอกทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม โดยไม่ปิดกั้นและไม่เลือกปฏิบัติ
14. ยึดมั่นในกฎการค้าพหุภาคีและระบอบของอาเซียน
ประเทศไทยจะได้ประโยชน์อะไรจาก AEC (ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน)
ประชาคมอาเซียนที่จะถือกำเนิดในปี 2558 นั้น คนไทยจะได้ประโยชน์อะไร แน่นอนเราคงอยากทราบ แต่ในชั้นนี้ขอจำกัดเฉพาะทางเศรษฐกิจก่อน
ประการแรก ไทยจะ “มีหน้ามีตาและฐานะ” เด่นขึ้นประชาคมอาเซียนจะทำให้เศรษฐกิจ “ของเรา” มีมูลค่ารวมกัน 1.8 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีขนาดใหญ่อันดับ 9 ของโลก ยังประโยชน์แก่คนไทยทุกคนที่จะได้ยืนอย่างสง่างาม “ยิ้มสยาม” จะคมชัดขึ้น
ประการที่สอง การค้าระหว่างไทยกับประเทศอาเซียนจะคล่องและขยายตัวมากขึ้น กำแพงภาษีจะลดลงจนเกือบจะหมดไป เพราะ 10 ตลาดกลายเป็นตลาดเดียว ผู้ผลิตจะส่งสินค้าไปขายในตลาดนี้และขยับขยายธุรกิจของตนง่ายขึ้น ขณะเดียวกันผู้บริโภคก็จะมีทางเลือกมากขึ้นราคาสินค้าจะถูกลง
ประการที่สาม ตลาดของเราจะใหญ่ขึ้น แทนที่จะเป็นตลาดของคน 67 ล้านคน ก็จะกลายเป็นตลาดของคน 590 ล้านคน ซึ่งจะทำให้ไทยกลายเป็นแหล่งลงทุนที่น่าสนใจ เพราะสินค้าที่ผลิตในประเทศไทยสามารถส่งออกไปยังอีกเก้าประเทศได้ราวกับส่งไปขายต่างจังหวัด ซึ่งก็จะช่วยให้เราสามารถแข่งขันกับจีนและอินเดียในการดึงดูดการลงทุนได้มากขึ้น
ประการที่สี่ความเป็นประชาคมจะทำให้มีการพัฒนาเครือข่ายการสื่อสารคมนาคมระหว่างกันเพื่อประโยชน์ด้านการค้าและการลงทุน แต่ก็ยังผลพลอยได้ในแง่การไปมาหาสู่กัน ซึ่งก็จะช่วยให้คนในอาเซียนมีปฏิสัมพันธ์กัน รู้จักกัน และสนิทแน่นแฟ้นกันมากขึ้น เป็นผลดีต่อสันติสุข ความเข้าใจอันดีและความร่วมมือกันโดยรวม นับเป็นผลทางสร้างสรรค์ในหลายมิติด้วยกัน
ประการที่ห้า โดยที่ ไทยตั้งอยู่ในจุดกึ่งกลางบนภาคพื้นแผ่นดินใหญ่อาเซียน ประเทศไทยย่อมได้รับประโยชน์จากปริมาณการคมนาคมขนส่งที่จะเพิ่มขึ้นในอาเซียนและระหว่างอาเซียนกับจีน (และอินเดีย) มากยิ่งกว่าประเทศอื่นๆ
บริษัทด้านขนส่ง คลังสินค้า ปั๊มน้ำมัน ฯลฯ จะได้รับประโยชน์อย่างชัดเจน จริงอยู่ ประชาคมอาเซียนจะยังผลทั้งด้านบวกและลบต่อประเทศไทย ขึ้นอยู่กับพวกเราคนไทยจะเตรียมตัวอย่างไร แต่ผลทางบวกนั้นจะชัดเจน เป็นรูปธรรมและจับต้องได้
บรูไน ดารุสซาลาม (Brunei Darussalam)
รัฐบรูไนดารุสซาลาม (State of Brunei Darussalam)
ประเทศบรูไน ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะ บอร์เนียว แบ่งเป็นสี่เขตคือ เขต Brunei-Muaraเขต Belaitเขต Temburongและเขต Tutongมีพื้นที่ทั้งสิ้น 5,765 ตารางกิโลเมตร โดยพื้นที่ร้อยละ 70 เป็นป่าไม้เขตร้อน มีประชากรทั้งสิ้น 37,000 คน มีอัตราการเพิ่มของประชากรปีละ 2 เปอร์เซ็นต์ ค่า GDP เท่ากับ 11.44 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีอัตราการเติบโตของGDP อยู่ที่ ร้อยละ 0.4 นับเป็นประเทศที่ค่อนข้างร่ำรวยในอาเซียน GDP เฉลี่ย ต่อคนเป็นอันดับที่สามในเอเชีย รองจากญี่ปุ่นและสิงคโปร์ บรูไนมีน้ำมันมากเป็นอันดับสามในภูมิภาคอาเซียน รองจากอินโดนีเซียและมาเลเซีย จึงมีรายได้ หลักจากน้ำมันและก๊าซธรรมชาติโดยส่งออกไปยังญี่ปุ่น อังกฤษ ไทย สิงคโปร์ ไต้หวัน สหรัฐฯ ฟิลิปปินส์ และเกาหลีใต้ ในขณะเดียวกัน บรูไนฯ นำเข้าสินค้าส่วนใหญ่จากสิงคโปร์ อังกฤษ สหรัฐฯ มาเลเซีย โดยเป็น สินค้าประเภทเครื่องจักรอุตสาหกรรม รถยนต์ เครื่องมือ เครื่องใช้ไฟฟ้า ต่าง ๆ และสินค้าเกษตร อาทิ ข้าว และผลไม้
รัฐบาลบรูไนได้ส่งเสริมให้ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมมีบทบาทมากขึ้น รวมถึงการส่งเสริมการ ลงทุนกับต่างประเทศและมีมาตรการเปิดเสรีด้านการค้าและสร้างบรรยากาศที่เอื้ออำนวยต่อการลงทุน ไม่ เฉพาะแต่บริษัทในประเทศ แต่รวมถึงประเทศต่าง ๆ จากกลุ่มอาเซียนและนานาประเทศด้วย นอกจากนี้ รัฐบาล บรูไน ฯ มีนโยบายพัฒนาประเทศให้เป็นศูนย์กลางทางการค้าและท่องเที่ยว (Service Hub for Trade and Tourism – SHuTT 2003 Vision) และเป็นตลาดการขนถ่ายสินค้า ที่สำคัญของภูมิภาคเอเชียตะวันออก เฉียงใต้อีกด้วย
การประมงทะเลของประเทศบรูไนดารูซาลัม มีมูลค่าทางเศรษฐกิจไม่มากนักเมื่อเทียบกับรายได้ของ ประเทศที่ได้จากน้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ อย่างไรก็ตามสัตว์น้ำจัดว่าเป็นอาหารโปรตีนที่มีความสำคัญต่อ ประชากรของบูรไน คนบรูไนรับประทานปลาสูงถึงคนละ 45 กิโลกรัมต่อปี ทำให้บรูไนต้องนำเข้าอาหาร ทะเลเพื่อการบริโภคปีละ 7,750 ตัน หรือร้อยละ 50 ของความต้องการบริโภคปลาทั้งหมด 15,500 ตัน นอกจากนี้อุตสาหกรรมประมง ป่าไม้ การเกษตรนับเป็นหน่วยเศรษฐกิจที่สร้างรายได้ให้กับบรูไนเพิ่มขึ้น โดยคิดเป็น 10.72% และเป็นอุตสาหกรรมที่ผลิตสินค้าส่งออกเป็นอันดับ 5 ของประเทศ โดยโรงงานผลิต สินค้าประเภทปลาในบรูไนส่วนใหญ่ในเวลานี้เริ่มส่งสินค้าเหล่านี้ออกไปจำหน่ายในตลาดต่างประเทศมาก ขึ้น
บรูไนได้รับประโยชน์จากการประกาศเขตเศรษฐกิจจำเพาะ 200 ไมล์ ทำให้มีแหล่งน้ำมันและก๊าซ ธรรมชาติซึ่งทำรายได้หลักให้กับประเทศทำให้การพัฒนาด้านการประมงไม่มีความจำเป็นมากนัก อย่างไรก็ ตามรัฐบาลไม่ต้องการพึ่งพาเศรษฐกิจจากน้ำมันและก๊าซเพียงอย่างเดียว จึงหันมาส่งเสริมการทำประมง พาณิชย์อย่างจริงจังโดยให้สิทธิประโยชน์ต่างๆ มากมาย ปัจจุบันบรูไนมีชาวประมงเพียง 925 คน โดยส่วน ใหญ่เป็นชาวประมงขนาดเล็ก
ในขณะที่ส่งเสริมให้มีการทำประมง รัฐบาลก็มีการควบคุมไม่ให้ การทำประมงเกินศักย์สูงสุดที่มีอยู่ จึงอนุญาตให้ทำการประมงได้เพียงร้อย ละ 80 ของศักย์การผลิตสูงสุด หรือประมาณ 21,300 ตันต่อปี แบ่งออกเป็น ปลาหน้าดิน 12,500 ตัน และปลาผิวน้ำ 8,800 ตัน นอกจากนี้น่านน้ำของ บรูไนยังเป็นเส้นทางอพยพย้ายถิ่นของปลาทูน่าด้วย บรูไนจึงวางแผนการ สำรวจ และการใช้ทรัพยากรเหล่านี้ในอนาคตอันใกล้นี้ด้วย
ในปี 2544 บรูไนมีผลผลิตจากการจับปลาทะเลประมาณ 10,343 ตัน และได้ส่งเสริมให้มีการทำ ประมงพาณิชย์มากขึ้น โดยการใช้เรือติดเครื่องยนต์ขนาดใหญ่ทำการประมงอวนลาก และอวนล้อมในทะเล ที่ใกล้ฝั่งออกไป บรูไนแบ่งเขตการทำการประมงทะเลเป็น 3 เขต คือ เขต 1, 2 และ 3 โดยขออนุญาตให้ เรือประมงพาณิชย์ทำการประมงในเขต 2 และ 3 เท่านั้น เขต 2 ระยะ ระหว่าง 3-20 ไมล์ทะเล เขต 3 ระยะ ระหว่าง 20-45 ไมล์ทะเล โดยเครื่องมือประมงที่อนุญาตให้ทำการประมงในเขต 2 และ 3 ได้แก่ อวนลาก อวนล้อม และเบ็ดราวทูน่า
บรูไนมีการเชิญชวนให้ต่างชาติไปลงทุนจับปลาในบรูไนได้ด้วย โดยการทำประมงในน่านน้ำบรูไน จะต้องดำเนินการโดยบริษัทร่วมทุน(joint-venture) หรืออีกวิธีหนึ่งคือ ผู้ประกอบการบรูไนสามารถเช่า เรือประมงต่างชาติ (chartering) พร้อมลูกเรือเข้าไปทำการประมงในบรูไน โดยเรือต่างชาติเหล่านี้จะต้องทำ การประมงในเขต 3 หรือระยะ 20 ไมล์ทะเลออกไป และต้องใช้อวนลากปลาที่มีขนาดไม่ต่ำกว่า 38 มิลลิเมตร และจะต้องนำปลาไปขึ้นที่ท่าที่กำหนดก่อนส่งออกไปยังประเทศต่างๆ
ปัจจุบันมีผู้ประกอบการบรูไน จำนวน 2 บริษัทสามารถเช่าเรือประมงต่างชาติจำนวน 19 ลำเข้าไป ทำการประมงอวนลาก อวนล้อม และเบ็ดราว ในบรูไนได้
การประมงไทยในบรูไนดารูซาลัม
สำหรับประเทศไทยนั้น ได้เคยมีผู้ประกอบการไทยนำเรือไปให้เช่าจำนวน 6 ลำ แต่เมื่อทำการ ประมงไปได้ระยะหนึ่งก็ประสบปัญหาว่าด้วยระเบียบปฏิบัติ และความคุ้มทุนเนื่องจากพื้นที่ที่ได้รับอนุญาตมี ปริมาณทรัพยากรสัตว์น้ำไม่มากนัก ประกอบกับสภาพท้องทะเลมีความลึกมากและเป็นพื้นโคลนที่ไม่เหมาะ สำหรับทำการประมง จึงได้ถอนเรือออกมาล่าสุดในการประชุมผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 12 ที่เมืองเซบู เมื่อ 13-15 มกราคม 2550 ไทยและบรูไนได้ จัดตั้งกลไกความร่วมมือทวิภาคีระหว่างกัน ซึ่งได้มีการหารือเกี่ยวกับการส่งเสริมความสัมพันธ์และความ ร่วมมือระหว่างทั้งสองประเทศในด้านต่าง ๆ ได้แก่ การทหาร การค้า การลงทุน (รวมทั้งการประมง อุตสาหกรรม ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย) แรงงาน ความร่วมมือด้านวิชาการ การท่องเที่ยว และ การ สื่อสารและ วัฒนธรรม ผลการประชุมแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสอง ประเทศให้มีความคืบหน้ามากยิ่งขึ้น เนื่องจากบรูไนเน้นเรื่องการใช้ประโยชน์ทรัพยากรน้ำมันและก๊าซธรรมชาติเป็นหลัก ทำให้การ พัฒนาด้านการประมงยังมีไม่มากนัก ส่งผลให้ทรัพยากรสัตว์น้ำยังคงอยู่ในสภาพสมบูรณ์และ สามารถรองรับการพัฒนาและขยายกิจการประมงทะเลเพิ่มขึ้นได้ ผลการเยือนบรูไนในปี 2544 ฝ่ายไทยเสนอให้มีความร่วมมือด้านการประมงไทย-บรูไนมากขึ้น ใน ลักษณะเดียวกันกับความร่วมมือด้านการประมงไทย–มาเลเซีย (ซาราวัก) ขณะนี้ บรูไนเช่าเรือไทย ไปทำการประมงเพียง 2- 3 ลำในขณะที่ประเทศอื่น ๆ เข้าไปทำการประมงประมาณ 30 ลำแล้ว ฝ่าย ไทยเสนอให้ฝ่ายบรูไนเพิ่มการเช่าเรือประมงไทยมากขึ้น ฝ่ายไทยแจ้งด้วยว่า สมาคมการประมง ไทยพร้อมที่จะเข้าไปร่วมลงทุนกับฝ่ายบรูไนในด้านการแปรรูปสินค้าประมง
ประเทศไทย (Thailand)
ชื่อทางการ : ราชอาณาจักรไทย (Kingdom of Thailand)
ที่ตั้ง : ตั้งอยู่บนคาบสมุทรอินโดจีน ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนทางทิศตะวันออกติดประเทศลาวและประเทศกัมพูชา ทิศใต้ติดอ่าวไทยและประเทศมาเลเซีย ทิศตะวันตกติดทะเลอันดามันและประเทศพม่า และทิศเหนือติดกับประเทศพม่าและประเทศลาว โดยมีแม่น้ำโขงกั้นเป็นบางช่วง
พื้นที่ : 513,115.02 ตารางกิโลเมตร
เมืองหลวง : กรุงเทพมหานคร (Bangkok)
ประชากร : 64.7 ล้านคน (2551)
ภูมิอากาศ : เป็นแบบเขตร้อน อากาศร้อนที่สุดในเดือนเมษายนถึงพฤษภาคมเป็นฤดูร้อน โดยจะมีฝนตกและเมฆมากจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ในช่วงกลางเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคมเป็นฤดูฝน ส่วนในเดือนพฤศจิกายนถึงกลางเดือนมีนาคม อากาศแห้งและหนาวเย็นจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือเป็นฤดูหนาว ยกเว้นภาคใต้ที่มีอากาศร้อนชื้นตลอดทั้งปีจึงมีแค่สองฤดูคือฤดูร้อนกับฤดูฝน
ภาษา : ภาษาไทยเป็นภาษาราชการ
ศาสนา : ประมาณร้อยละ 95 ของประชากรไทยนับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท ซึ่งเป็นศาสนาประจำชาติโดยพฤตินัย แม้ว่ายังจะไม่มีการบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยก็ตาม ศาสนาอิสลามประมาณร้อยละ 4 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวไทยทางภาคใต้ตอนล่าง ศาสนาคริสต์และศาสนาอื่นประมาณร้อยละ 1
สกุลเงิน : บาท (Baht : THB)
ระบอบการปกครอง : ระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
* พระมหากษัตริย์ คือ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร (His Majesty King BhumibolAdulyadej)
เวียดนาม (Vietnam)
ชื่อทางการ : สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (Socialist Republic of Vietnam)
ที่ตั้ง : เป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนติดกับประเทศจีน ทางทิศเหนือ ประเทศลาว และประเทศกัมพูชา ทางทิศตะวันตก และอ่าวตังเกี๋ย ทะเลจีนใต้ ทางทิศตะวันออก
พื้นที่ : 331,689 ตารางกิโลเมตร (0.645 เท่าของประเทศไทย)
เมืองหลวง : กรุงฮานอย (Hanoi)
ประชากร : ประมาณ 86.1 ล้านคน (กรกฎาคม 2551) เป็น เวียด80% เขมร 10 %(บริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงทางตอนใต้ของประเทศ) ต่าย1.9% ไท 1.74% เหมื่อง 1.49% ฮั้ว(จีน) 1.13% นุง 1.12% ม้ง1.03%
ภูมิอากาศ : เป็นแบบมรสุมเขตร้อน ชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกเปิดโล่งรับลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดผ่านทะเลจีนใต้ ทำให้มีโอกาสรับลมมรสุมและพายุหมุนเขตร้อน จึงมีฝนตกชุกในฤดูหนาว สามารถปลูกข้าวได้ปีละ 2 ครั้ง (ฝนตกตลอดปี ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ) เป็นประเทศที่มีความชื้นประมาณ 84 % ตลอดปี มีปริมาณฝน จาก 120 ถึง 300 เซนติเมคร(47 ถึง 118 นิ้ว) และมีอุณหภูมิเฉลี่ยตั้งแต่ 5°C (41°F) ถึง 37°C (99°F)
ภาษา : ภาษาเวียดนาม (Vietnamese) เป็นภาษาราชการ ซึ่งเมื่อปี พ.ศ. 2463 วงการวิชาการเวียดนามได้ลงประชามติที่จะใช้ตัวอักษรโรมัน (quocngu) แทนตัวอักษรจีน (Chu Nom) ในการเขียนภาษาเวียดนาม
ศาสนา : ส่วนใหญ่ชาวเวียดนามนับถือศาสนาพุทธ นิกายมหายานสูงถึงร้อยละ 70 ของจำนวนประชากร ร้อยละ 15 นับถือศาสนาคริสต์ ที่เหลือนับถือลัทธิขงจื้อมุสลิม
สกุลเงิน : ด่อง (Dong : VND)
อัตราแลกเปลี่ยนประมาณ 461 ด่อง/ 1 บาท (มกราคม 2550)
ระบอบการปกครอง : ระบอบสังคมนิยม โดยพรรคคอมมิวนิสต์เป็นพรรคการเมืองเดียว
* ประมุข-ประธานาธิบดี คือ นายเหงียนมินห์เจี๊ยต (Nguyen Minh Triet) (27 มิถุนายน 2549)
* หัวหน้ารัฐบาล-นายกรัฐมนตรี คือ นายเหงียน ถัน ดุง (Nguyen Tan Dung)
* เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ คือ นายหน่งดึ๊ก หมั่น (NongDucManh)
* ประธานาธิบดีเจืองเติ๋น ซาง
ลาว (Laos)
ชื่อทางการ : สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (The Lao People’s Democratic Republic)
ที่ตั้ง : เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล มีพรมแดนติดจีนและพม่าทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดต่อกับเวียดนามทางทิศตะวันออก ติดต่อกับกัมพูชาทางทิศใต้ และติดต่อกับประเทศไทยทางทิศตะวันตก
พื้นที่ : 236,800 ตารางกิโลเมตร (ประมาณครึ่งหนึ่งของประเทศไทย) แบ่งเป็น 16 แขวง และ 1 เขตปกครองพิเศษ (นครหลวงเวียงจันทน์)
เมืองหลวง : นครเวียงจันทน์ (Vientiane) (เป็นเขตเมืองหลวงเหมือน กทม. ส่วนแขวงเวียงจันทน์เป็นอีกแขวงหนึ่งที่อยู่ติดกับนครหลวงเวียงจันทน์)
ประชากร : 5.6 ล้านคน (ปี 2548) ประกอบด้วย ลาวลุ่มร้อยละ 68 ลาวเทิงร้อยละ 22 ลาวสูงร้อยละ 9 รวมประมาณ 68 ชนเผ่า
ภูมิอากาศ : อุณหภูมิเฉลี่ย 29-33 องศา ต่ำสุด 10 องศา ปริมาณฝนตกเฉลี่ย 1,715 มม.ต่อปี ความชื้น 70-80 %
ภาษา : ภาษาลาวเป็นภาษาราชการ
ศาสนา : ร้อยละ 75 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 16-17 นับถือผี ที่เหลือนับถือศาสนาคริสต์ (ประมาณ 100,000 คน) และอิสลาม (ประมาณ 300 คน)
สกุลเงิน : กีบ (Kip)
อัตราแลกเปลี่ยน 1 บาท : 276 กีบ (พฤษภาคม 2551)
ระบอบการปกครอง : ระบบการปกครองแบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์(ทางการลาวใช้คำว่า ระบอบประชาธิปไตยประชาชน) โดยพรรคการเมืองเดียวเป็นองค์กรชี้นำประเทศ คือ พรรคประชาชนปฏิวัติลาว มีอำนาจสูงสุดตั้งแต่ลาวเริ่มปกครองในระบอบสังคมนิยม เมื่อ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2518
* ประมุข-ประธานประเทศ (ในภาษาลาว หมายถึง ตำแหน่งประธานาธิบดี) คือพลโท จูมมะลี ไซยะสอน (8 มิถุนายน พ.ศ. 2549)
* หัวหน้ารัฐบาล-นายกรัฐมนตรี คือ นายบัวสอน บุบผาวัน (8 มิถุนายน พ.ศ. 2549)
* ประธานาธิบดีจูมมะลี ไซยะสอน
มาเลเซีย (Malaysia)
มาเลเซีย (Malaysia)
ชื่อทางการ : มาเลเซีย (Malaysia)
ที่ตั้ง : ตั้งอยู่ในเขตเส้นศูนย์สูตร ประกอบด้วยดินแดนสองส่วน โดยมีทะเลจีนใต้กั้น
– ส่วนแรก คือ มาเลเซียตะวันตก ตั้งอยู่บนคาบสมุทรมลายู มีพรมแดนทิศเหนือติดประเทศไทย และทิศใต้ติดกับสิงคโปร์ ประกอบด้วย 11 รัฐ คือ ปะหัง สลังงอร์เนกรีเซมบิลัน มะละกา ยะโฮร์เประ กลันตัน ตรังกานูปีนัง เกดะห์ และปะลิส
– ส่วนที่สอง คือ มาเลเซียตะวันออก ตั้งอยู่ทางเหนือของเกาะบอร์เนียว (กาลิมันตัน) มีพรมแดนทิศใต้ติดอินโดนีเซีย และมีพรมแดนล้อมรอบประเทศบรูไน ประกอบด้วย 2 รัฐ คือ ซาบาห์ และซาราวัก
– นอกจากนี้ยังมีเขตการปกครองภายใต้สหพันธรัฐอีก 3 เขต คือ กรุงกัวลาลัมเปอร์ (เมืองหลวง) เมืองปุตราจายา (เมืองราชการ) และเกาะลาบวน
พื้นที่ : 330,257 ตารางกิโลเมตร
เมืองหลวง : กรุงกัวลาลัมเปอร์ (Kuala Lumpur)
ประชากร : 26.24 ล้านคน (ปี 2549) ประกอบด้วย ชาวมาเลย์กว่า 40% ที่เหลืออีกกว่า 33% เป็นชาวจีน อีก 10% เป็นชาวอินเดีย อีก 10% เป็นชนพื้นเมืองบนเกาะบอร์เนียว อีก 5% เป็นชาวไทย และอื่นๆอีก 2%
ภูมิอากาศ : ร้อนชื้น อุณหภูมิเฉลี่ย 28 องศาเซลเซียส
ภาษา : มาเลย์ (Bahasa Malaysia เป็นภาษาราชการ) อังกฤษ จีน ทมิฬ
ศาสนา : อิสลาม (ศาสนาประจำชาติ ร้อยละ 60.4) พุทธ (ร้อยละ 19.2) คริสต์ (ร้อยละ 11.6) ฮินดู (ร้อยละ 6.3) อื่น ๆ (ร้อยละ 2.5)
สกุลเงิน : ริงกิตมาเลเซีย (Malaysian Ringgit : MYR)
อัตราแลกเปลี่ยนประมาณ (ซื้อ) 9.25 บาท/ 1 ริงกิต (ขาย) 10 บาท/1 ริงกิต (มกราคม 2552)
ระบอบการปกครอง : ประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา (Parliamentary Democracy)
* ประมุข คือ สมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่าน มีซาน ไซนัล อาบิดีน (พระนามเต็ม: อัล วาติกูร บิลลาห์ตวนกู มิซาน ไซนัล อาบิดีนอิบนีอัลมาร์ฮุม สุลต่าน มาห์มัด อัลมัคตาฟิ บิลลาห์ชาห์ ภาษาอังกฤษ : DYMM Al-WathiquBillahTuankuMizanZainalAbidinIbni Al-Marhum Sultan Mahmud Al-MuktafiBillah Shah) จากรัฐตรังกานู ทรงเป็นสมเด็จพระราชาธิบดีองค์ที่ 13 ของมาเลเซีย (ตั้งแต่วันที่ 13 ธันวาคม 2549)
* นายกรัฐมนตรี คือ ดาโต๊ะ ซรี อับดุลลาห์ บิน ฮาจิ อาหมัด บาดาวี (Dato’ Seri Abdullah bin Haji Ahmad Badawi
* นาจิบ ราซัค
ฟิลิปปินส์ (Philippines)
ชื่อทางการ : สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (Republic of the Philippines)
ที่ตั้ง : เป็นประเทศหมู่เกาะที่ประกอบด้วยเกาะจำนวนทั้งสิ้น 7,107 เกาะ ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก ห่างจากเอเชีย
แผ่นดินใหญ่ทางตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณ 100 กม. และมีลักษณะพิเศษ คือ เป็นประเทศเพียงหนึ่งเดียวที่มีพรมแดนทางทะเลที่ติดต่อระหว่างกันยาวมากที่สุดในโลก
– ทิศตะวันตกและทิศเหนือติดกับทะเลจีนใต้
– ทิศตะวันออกและทิศใต้ติดกับมหาสมุทรแปซิฟิก
– อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 1,800 กิโลเมตร
พื้นที่ : 298,170 ตารางกิโลเมตร (ประมาณ 3 ใน 5 ของประเทศไทย)
เมืองหลวง : กรุงมะนิลา (Manila)
ประชากร : 88.7 ล้านคน (พ.ศ.2550)
ภูมิอากาศ : มรสุมเขตร้อน ได้รับความชุ่มชื้นจากลมมรสุมทั้ง 2 ฤดู ได้รับฝนจากลมพายุไต้ฝุ่น และดีเปรสชั่น บริเวณที่ฝนตกมากที่สุด คือ เมืองบาเกียว เป็นเมืองที่ฝนตกมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ภาษา : มีการใช้ภาษามากกว่า 170 ภาษา โดยส่วนมากเกือบทั้งหมดนั้นเป็นตระกูลภาษาย่อยมาลาโย-โปลินีเซียนตะวันตก แต่ในปี พ.ศ. 2530 รัฐธรรมนูญได้ระบุให้ภาษาฟิลิปิโน (Filipino) และภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ ส่วนภาษาต่างประเทศอื่น ๆ ที่ใช้กันมากในประเทศฟิลิปปินส์มีทั้งหมด 8 ภาษา ได้แก่ ภาษาสเปน ภาษาจีนฮกเกี้ยน ภาษาจีนแต้จิ๋ว ภาษาอินโดนีเซีย ภาษาซินด์ ภาษาปัญจาบ ภาษาเกาหลี และภาษาอาหรับ โดยฟิลิปปินส์นั้น มีภาษาประจำชาติคือ ภาษาตากาล็อก
ศาสนา : ร้อยละ 92 ของชาวฟิลิปปินส์ทั้งหมดนับถือศาสนาคริสต์ โดยร้อยละ 83 นับถือนิกายโรมันคาทอลิก และร้อยละ 9 เป็นนิกายโปรเตสแตนต์ มุสลิมร้อยละ 5 พุทธและอื่น ๆ ร้อยละ 3
สกุลเงิน : เปโซ (Peso : PHP)
อัตราแลกเปลี่ยนประมาณ (ซื้อ) 0.72 บาท/ 1 เปโซ (ขาย) 0.75 บาท/ 1 เปโซ (มกราคม 2552)
ระบอบการปกครอง : ประชาธิปไตยแบบประธานาธิบดีเป็นประมุขและหัวหน้าฝ่ายบริหาร (วาระ ๖ ปี)
* ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน คือ นางกลอเรีย มาคาปากัลอาร์โรโย (Gloria Macapagal Arroyo) ซึ่งได้รับการรับรองให้เป็นผู้ชนะการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2547
* ประธานาธิบดีเบนิกโน อากีโนที่ 3
พม่า (Myanmar)
ชื่อทางการ : สหภาพพม่า (Union of Myanmar)
ที่ตั้ง : ตั้งอยู่ที่ละติจูดที่ 28 องศา 30 ลิปดา ถึง 10 องศา 20 ลิปดาเหนือ ภูมิประเทศตั้งอยู่ตามแนวอ่าวเบงกอลและทะเลอันดามันทำให้มีชายฝั่งทะเลยาวถึง 2,000 ไมล์
– ทางตะวันออกเฉียงเหนือติดกับทิเบตและจีน
– ทางตะวันออกติดกับลาว
– ทางตะวันออกเฉียงใต้ติดกับไทย
– ทางตะวันตกเฉียงเหนือติดกับบังคลาเทศและอินเดีย
– ทางตะวันตกเฉียงใต้และทางใต้ติดกับทะเลอันดามันและอ่าวเบงกอล
พื้นที่ : 676,577 ตารางกิโลเมตร (ประมาณ 1.3 เท่าของไทย)
เมืองหลวง : เนปีดอ (Naypyidaw) (ภาษาพม่า) หรือบางครั้งสะกดเป็น เนปีตอ (Nay Pyi Taw) (มีความหมายว่า มหาราชธานี) เป็นเมืองหลวงและเมืองศูนย์กลางการบริหารของสหภาพพม่าที่ได้ย้ายมาจากย่างกุ้ง ตั้งแต่วันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 ตั้งอยู่ในหมู่บ้านจัตปแว (Kyatpyae) ทางทิศตะวันตกของตัวเมืองเปียนมานา (Pyinmana) ในเขตมัณฑะเลย์ สภาพภูมิประเทศเป็นภูเขาโดยรอบ เมืองนี้เป็นเมืองเดียวของประเทศพม่าที่สามารถใช้ไฟฟ้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งในขณะที่เมืองหลวงเก่าย่างกุ้งจะไฟฟ้าดับอย่างน้อย 6 ชั่วโมง เมืองนี้อยู่ห่างย่างกุ้งไปทางเหนือประมาณ 320 กิโลเมตร ไม่มีสัญญาณโทรศัพท์ ซึ่งทางการพม่านั้นต้องการ เมืองนี้เริ่มมีการสร้างสิ่งต่าง ๆ บ้างแล้ว เช่น อพาร์ตเมนท์ ซึ่งคนพอมีเงินที่จะมาซื้ออยู่อาศัย เริ่มมีประชาชนอพยพมาอาศัยอยู่หลายหมื่นคน แต่เมืองหลวงแห่งนี้ ยังไม่มีโรงเรียน โรงพยาบาล เปรียบเสมือนเมืองทหาร ซึ่งกำลังก่อสร้างต่อไป
ประชากร : ประมาณ 56 ล้านคน (พ.ศ.2548) มีเผ่าพันธุ์ 135 เผ่าพันธุ์ ประกอบด้วย เชื้อชาติหลัก ๆ 8 กลุ่ม คือ พม่า (ร้อยละ 68) ไทยใหญ่ (ร้อยละ 8 ) กะเหรี่ยง (ร้อยละ 7) ยะไข่ (ร้อยละ 4) จีน (ร้อยละ 3) มอญ (ร้อยละ 2) อินเดีย (ร้อยละ 2)
ภูมิอากาศ : สภาพภูมิอากาศส่วนใหญ่ในบริเวณที่เป็นเทือกเขาสูงทางตอนกลางและตอนเหนือของประเทศจะมีอากาศแห้งและร้อนมากในฤดูร้อน ส่วนในฤดูหนาวอากาศจะเย็นมาก ตามชายฝั่งทะเลและบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำจะแปรปรวนในช่วงเปลี่ยนฤดู เพราะได้รับอิทธิพลของพายุดีเปรสชั่นเสมอ ทำให้บริเวณนี้มีฝนตกชุกหนาแน่นมากกว่าตอนกลางหรือตอนบนของประเทศที่เป็นเขตเงาฝน ข้อแนะนำสำหรับนักท่องเที่ยว คือ ควรเดินทางในช่วงเดือนพฤศจิกายน – กุมภาพันธ์ เพราะฝนไม่ตก และอากาศไม่ร้อนจนเกินไปนัก
ภาษา : ภาษาพม่าเป็นภาษาราชการ
ศาสนา : ศาสนาพุทธ (พม่าบัญญัติให้ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติใน พ.ศ. 2517) ร้อยละ 90 ศาสนาคริสต์ร้อยละ 5 ศาสนาอิสลามร้อยละ 3.8 ศาสนาฮินดูร้อยละ 0.05
สกุลเงิน : จ๊าด (Kyat : MMK)
อัตราแลกเปลี่ยนประมาณ 25 จ๊าดต่อ 1 บาท หรือประมาณ 1,300 จ๊าดต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ (มิถุนายน 2549)
ระบอบการปกครอง : เผด็จการทางทหาร ปกครองโดยรัฐบาลทหารภายใต้สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ (State Peace and Development Council – SPDC)
* ประธานสภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ (ประมุขประเทศ) คือ พลเอกอาวุโส ตาน ฉ่วย (Senior General Than Shwe) (เมษายน 2535)
* นายกรัฐมนตรี (หัวหน้ารัฐบาล) คือ พล.อ.เทียน เส่ง (Gen. TheinSein) นายกรัฐมนตรีคนที่ 11 ของพม่า (พ.ศ. 2550)
สิงคโปร์ (Singapore)
ชื่อทางการ : สาธารณรัฐสิงคโปร์ (Republic of Singapore)
ที่ตั้ง : เป็นนครรัฐ ที่ตั้งอยู่บนเกาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ละติจูด 1°17′35″เหนือ ลองจิจูด 103°51′20″ตะวันออก ตั้งอยู่ทางใต้สุดของคาบสมุทรมาเลย์ อยู่ทางใต้ของรัฐยะโฮร์ของประเทศมาเลเซีย และอยู่ทางเหนือของเกาะรีเยาของประเทศอินโดนีเซีย
พื้นที่ : ประกอบด้วยเกาะสิงคโปร์และเกาะใหญ่น้อยบริเวณใกล้เคียง 63 เกาะ มีพื้นที่ รวมทั้งสิ้น 697 ตารางกิโลเมตร (ประมาณเกาะภูเก็ต) เกาะสิงคโปร์เป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดมีความยาวจากทิศตะวันตกไปตะวันออกประมาณ 42 กิโลเมตร และความกว้างจากทิศเหนือไปยังทิศใต้ประมาณ 23 กิโลเมตร
เมืองหลวง : สิงคโปร์
ประชากร : 4.35 ล้านคน (พ.ศ.2548) ประกอบด้วยชาวจีน 76.5% ชาวมาเลย์ 13.8% ชาวอินเดีย 8.1% และอื่น ๆ 1.6%
ภูมิอากาศ : ร้อนชื้น มีฝนตกตลอดปี อุณหภูมิเฉลี่ย 26.8 องศาเซลเซียส
ภาษา : ภาษาทางราชการ คือ ภาษามาเลย์ (ภาษาประจำชาติ) จีนกลาง (แมนดาริน) ทมิฬ และอังกฤษ สิงคโปร์ส่งเสริมให้ประชาชนพูด 2 ภาษา โดยเฉพาะจีนกลาง ในขณะที่ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ใช้ในการติดต่องานและในชีวิตประจำวัน
ศาสนา : พุทธ 42.5% อิสลาม 14.9% คริสต์ 14.5% ฮินดู 4% ไม่นับถือศาสนา 25%
สกุลเงิน : ดอลลาร์สิงคโปร์ (Singapore Dollar : SGD)
อัตราแลกเปลี่ยน (ซื้อ) 23 บาท/ 1 ดอลลาร์สิงคโปร์ (ขาย) 23.5 บาท/ 1 ดอลลาร์สิงคโปร์ (มกราคม 2552)
ระบอบการปกครอง : สาธารณรัฐ (ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีสภาเดียว) โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุข และนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร
* ประธานาธิบดี คือ นายเอสอาร์นาธาน (S R Nathan) (ดำรงตำแหน่งสองสมัยตั้งแต่ 1 กันยายน 2542)
* นายกรัฐมนตรี คือ นายลี เซียน ลุง (Lee HsienLoong) (12 สิงหาคม 2547)
* ประธานาธิบดีโทนี ตัน เค็งยัม
กัมพูชา (Cambodia)
ราชอาณาจักรกัมพูชา (Kingdorm of Cambodia)
เป็นชื่อทางการของประเทศกัมพูชา หรือที่เรารู้จักกันในอีกชื่อว่า “เขมร” กัมพูชาเป็นแหล่งอารยธรรมอันยิ่งใหญ่ของอาณาจักรขอมโบราณ ปัจจุบันโบราณสถานที่หลงเหลืออยู่เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของโลก และได้รับการยกย่องให้เป็นมรดกโลก
ในอดีตนั้นชนชาติที่อาศัยอยู่ในดินแดงนี้คือ “ขอม” ต่อมาเรียกว่า “เขมร” จนเป็นกัมพูชาเช่นปัจจุบัน ประชากรที่อาศัยอยู่ในประเทศกัมพูชาส่วนใหญ่เป็นชาวกัมพูชาร้อยละ 96 นอกนั้นเป็นชาวเวียดนาม จีน และอื่นๆ
กัมพูชาแต่เดิมเคยตกเป็นอาณานิคมของประเทศฝรั่งเศสตั้งแต่ปี พ.ศ. 2406 ต่อมาได้มีการเรียกร้องเอกราชคืนจากฝรั่งเศสในปี พ.ศ. 2490 ซี่งในขณะนั้น ฝรั่งเศสกำลังเป็นฝ่ายเสียเปรียบในสงครามกับเวียดนาม จึงได้ตกลงให้เอกราชแก่กัมพูชา และในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2497 กัมพูชาจึงได้รับเอกราชอย่างสมบูรณ์ตามข้อตกลงในสนธิสัญญาเจนีวาพร้อมกับลาว และเวียดนาม
ชาวกัมพูชาในปัจจุบันมีอุปนิสัยที่พร้อมจะจับจ่ายใช้สอยเพื่อแสดงถึงฐานะของตน และแม้กัมพูชาและเป็นสังคมเกษตรกรรม แต่ชาวกัมพูชาบางส่วนหารายได้ให้มากขึ้นด้วยการขายที่ดินให้ชาวต่างชาติ แล้วนำเงินมาซื้อรถ โทรศัพท์มือถือ เครื่องใช้ไฟฟ้า หรือซื้อทองเก็บสะสมแทนเงินสด
กัมพูชาเป็นเมืองเกษตรกรรม ประชากรราวร้อยละ 85 ประกอบอาชีพเกษตรกรและอาศัยอยู่ในชนบท อาชีพหลักของชาวกัมพูชาคือ เกษตรกรประมาณ ร้อยละ 70 อยู่ในภาคบริการประมาณร้อยละ 17 เป็นลูกจ้างโรงงานประมาณร้อยละ 8 และแรงงานก่อสร้างประมาณร้อยละ 5 ประชากรส่วนใหญ่มีรายได้ไม่สูงนัก
อินโดนีเซีย (Indonesia)
สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republic of Indonesia)
ชื่อทางการ : สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republic of Indonesia)
ที่ตั้ง : อยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยตั้งอยู่บนเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรอินเดียและเป็นสะพานเชื่อมระหว่างทวีปเอเชียกับออสเตรเลียทำให้อินโดนีเซียสามารถควบคุมเส้นทางการติดต่อระหว่างมหาสมุทรทั้งสองผ่านช่องแคบที่สำคัญต่างๆ เช่น ช่องแคบมะละกา ช่องแคบซุนดาและช่องแคบล็อมบอกซึ่งเป็นเส้นทางขนส่งน้ำมันจากตะวันออกกลางมายังประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียตะวันออก
พื้นที่: 1,890,754 ตารางกิโลเมตรเป็นประเทศหมู่เกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ประกอบด้วยเกาะใหญ่น้อย กว่า 17,508 เกาะ รวมอยู่ในพื้นที่ 4 ส่วน คือ
- หมู่เกาะซุนดาใหญ่ ประกอบด้วยเกาะชวาสุมาตรา บอร์เนียว และสุลาเวสี
- หมู่เกาะซุนดาน้อย ประกอบด้วยเกาะเล็ก ๆ ที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกของเกาะชวา มีเกาะบาหลี ลอมบอก ซุมบาวา ซุมบา ฟอลเรส และติมอร์
- หมู่เกาะมาลุกุ หรือ หมู่เกาะเครื่องเทศ ตั้งอยู่ระหว่างสุลาเวสี กับอิเรียนจายาบนเกาะ นิวกีนี
- อีเรียนจายา อยู่ทางทิศตะวันตกของปาปัวนิวกินี
เมืองหลวง: จาการ์ตา (Jakarta)
ประชากร : ประมาณ 220 ล้านคน ประกอบด้วย ชนพื้นเมืองหลากหลายกลุ่ม ซึ่งพูดภาษาต่างกันกว่า 583 ภาษา ร้อยละ 61 อาศัยอยู่บนเกาะชวา
ภูมิอากาศ : มีอากาศร้อนชื้นแบบศูนย์สูตร ประกอบด้วย 2 ฤดู คือ ฤดูแล้ง (พฤษภาคม-ตุลาคม) และ ฤดูฝน (พฤศจิกายน-เมษายน)
ภาษา: ภาษาราชการและภาษาประจำชาติ ได้แก่ภาษาอินโดนีเซีย หรือ Bahasa Indonesia
ศาสนา: ชาวอินโดนีเซียร้อยละ 87 นับถือศาสนาอิสลามร้อยละ 6 นับถือศาสนาคริสต์นิกายโปรแตสแตนท์ ร้อยละ 3.5 นับถือศาสนาคริสต์นิกายแคทอลิก ร้อยละ 1.8 นับถือศาสนาฮินดู และร้อยละ 1.3 นับถือ ศาสนาพุทธ 4
สกุลเงิน: รูเปียห์ (Rupiah : IDR)อัตราแลกเปลี่ยนประมาณ (ซื้อ) 2.87 บาท / 1,000 รูเปียห์ (ขาย) 3.32 บาท / 1,000 รูเปียห์ (มกราคม 2552)
ระบอบการปกครอง: ประชาธิปไตย ที่มีประธานาธิบดีเป็นประมุข และหัวหน้าฝ่ายบริหาร
- ประธานาธิบดี คือดร.ซูซิโลบัมบัง ยูโดโยโน (SusiloBambangYudhoyono) (ตุลาคม 2547)