วิสัยทัศน์ (VISION)

“เป็นองค์กรนำการสร้างเสริมสุขภาพ  และการจัดการสิ่งแวดล้อม  เพื่อสุขภาพ  อนามัยที่ดีของประชาชน”

 

พันธกิจ (MISSION)

“มุ่งการเสริมสร้างสุขภาพระดับบุคคล  ครอบครัวและชุมชนให้มีสุขภาวะที่ดี  จัดการสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน  และจัดบริการสาธารณะที่ได้มาตรฐาน  เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนอย่างพึงพอใจ”

 

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม  แบ่งการบริหารภายในเป็น ๒ ฝ่าย ดังนี้

. ฝ่ายบริหารงานสาธารณสุข

๑.๑ งานธุรการ

๑)   งานธุรการประจำกองสาธารณสุขฯ  โดยลงทะเบียนรับ-ส่ง เอกสารทางราชการ

๒)   งานรับเรื่องราวร้องทุกข์ประจำกองสาธารณสุขฯ

๓)   งานเสนอแฟ้ม/หนังสือ เพื่อแจ้งเวียนเจ้าหน้าที่/พนักงานภายในกองสาธารณสุขฯ

๔)   งานพิมพ์เอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานกองสาธารณสุขฯ

๕)   ตรวจสอบแฟ้มงานก่อนนำเสนอ  ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขฯ และนำเสนอแฟ้มต่อผู้บังคับบัญชาเหนือชั้นขึ้นไปพิจารณา

๖)   งานดูแลรักษาจัดเตรียมและให้บริการเรื่องสถานที่   วัสดุ  อุปกรณ์  การติดต่อและอำนวยความสะดวกในด้านต่าง  ๆ ของเทศบาล

๗)  งานติดต่อประสานงานเกี่ยวกับประชุมสภาเทศบาล  คณะผู้บริหาร  พนักงานเทศบาลและลูกจ้าง

๘)   งานจัดทำฎีกาเบิกจ่ายเงินเดือน  ค่าจ้าง  สวัสดิการต่าง ๆ  และฎีกาต่าง ๆ ของกองสาธารณสุข

๙)  เปิด-ปิด  เครื่องใช้ไฟฟ้า  เครื่องใช้สำนักงานอื่น ๆ ของกองสาธารณสุขฯ  โดยมั่นตรวจสอบดูแลให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานได้ทุกวัน

๑๐) งานอื่นๆที่เกี่ยวข้องหรือตามที่ได้รับมอบหมาย

.๒  งานสุขาภิบาลและอนามัยสิ่งแวดล้อม

๑)   งานควบคุมด้านสุขาภิบาลและสิ่งแวดล้อม

๒)   งานสุขาภิบาลอาหารและโภชนาการ

๓)   งานควบคุมการประกอบการค้าที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

๔)   งานป้องกัน ควบคุม แก้ไขเหตุรำคาญและมลพิษ

๕)   งานสุขาภิบาลโรงงานและอาชีวอนามัย

๖)   งานสุสานและฌาปนสถาน

๗)   งานอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมาย

๑.๓   งานรักษาความสะอาด   การเก็บขนขยะมูลฝอยนำไปกำจัด  ดูแลรักษาความสะอาดตามถนน  หนทาง  ที่สาธารณะและตลาดสดเทศบาล  ขุดลอก  ล้างท่อระบายน้ำ

๑.๔ งานวางแผนสาธารณสุข

๑)   วางแผนพัฒนางานสาธารณสุขให้สอดคล้องกับปัญหา ในสาธารณสุขท้องถิ่น และให้มีความสอดคล้องกับแผนพัฒนาจังหวัด และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

๒)   จัดทำแผนงานสาธารณสุข ๓ ปีและเทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีของกอง

๓)   ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานด้านสาธารณสุขของกอง

๔).   ประสานการทำงานระหว่างหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนแก้ไขปัญหาสาธารณสุขในชุมชน

๕)   งานอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมาย

๒  ฝ่ายบริการสาธารณสุข 

๒.๑  งานเผยแพร่และฝึกอบรม  

๑)     งานเผยแพร่กิจกรรมทางวิชาการด้านสาธารณสุข

๒)     งานฝึกอบรมและศึกษาดูงาน

๓)     งานพัฒนาบุคลากรด้านสาธารณสุข

๔)     งานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือตามที่ได้รับมอบหมาย

๒.๒  งานส่งเสริมสุขภาพ   

๑) งานสุขศึกษา

๒)     งานอนามัยโรงเรียน

๓)     งานอนามัยแม่และเด็ก

๔)     งานวางแผนครอบครัว

๕)     งานโภชนาการ

๖) งานสุขภาพจิต

๗) งานสุขภาพผู้สูงอายุ

๘) งานอื่นที่ได้รับมอบหมาย

๒.๓.  งานป้องกันและควบคุมโรค  

๑)  งานป้องกันและสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค

๒)     งานควบคุมแมลงและพาหนะนำโรค

๓) งานควบคุมป้องกันโรคติดต่อ

๔) งานป้องกันการติดยาและสารเสพติด

๕) งานอื่นที่ได้รับมอบหมาย

๒.๔.  งานสัตว์แพทย์

๑) งานควบคุมการแพร่ระบาดโรคสัตว์

๒) งานควบคุมการฆ่าสัตว์ และโรงฆ่าสัตว์

๓) งานควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า

๔) งานอื่นได้รับมอบหมาย