วิสัยทัศน์ (VISION)

“ในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของหน่วยงานไม่ว่าจะเป็นของทางราชการหรือเอกชน  มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีกระบวนการในการบริหาร  เพื่อจะได้แปลงนโยบายของผู้บริหารสูงสุด  นำมาปฏิบัติให้เกิดเป็นรูปธรรม  เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน  ซึ่งในปัจจุบันได้มีการเปลี่ยนทั้งปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายใน  ตามกระแสโลกาภิวัตน์  ที่มีเทคโนโลยีและการสื่อสารที่ฉับไว  ทันโลกทันเหตุการณ์  ดังนั้นการบริหารงานสวัสดิการสังคมก็เช่นเดียวกันมีความจำเป็นต้องวางเป้าหมายให้ชัดเจนและจะต้องไปถึงเป้าหมายประเทศให้ได้”

 

ยุทธศาสตร์การบริหารงานทันสมัย

  1. การบริกหารโดยยึดวัตถุประสงค์ (Management  by  Objective  =  MBO)
  2. การบริหารแบบมีส่วนร่วม (Participative  Management)
  3. การบริหารงานภายใต้ภาวะข้อจำกัด  (Management  Under  Constrains)

 

กองสวัสดิการสังคม  แบ่งการบริหารงานภายในกองออกเป็น  ๒ ฝ่าย ดังนี้

๑  ฝ่ายสวัสดิการสังคม 

๑.๑.  งานสังคมสงเคราะห์  มีลักษณะงาน  ดังต่อไปนี้

๑)  งานจัดทำทะเบียนการรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ  คนพิการ  ผู้ป่วยเอดส์  ฯลฯ

๒)  งานสงเคราะห์เกี่ยวกับเครื่องอุปโภค  บริโภค  กรณีเหตุประสบภัยแก่ประชาชน

๓)  งานรับเรื่องร้องทุกข์และการแนะนำเกี่ยวกับการสังคมสงเคราะห์

๑.๒.  งานส่งเสริมสวัสดิการชุมชน  มีลักษณะงานดังต่อไปนี้

๑)  งานพัฒนาศักยภาพการบริหารชุมชน  เช่น  การประชุม  อบรม  สัมมนา ฯลฯ

๒)  งานส่งเสริมและพัฒนากลุ่มอาชีพและรายได้ชุมชน เช่น

–  งานจัดตั้งและส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน

–  งานจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์ชุมชน

–  งานจัดตั้งกลุ่มพัฒนาอาชีพชุมชน

–  งานพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน

๓)  งานจัดซื้อจัดหา  วัสดุ  อุปกรณ์  เครื่องมือเครื่องใช้ชุมชน  กรรมการชุมชน

๔)  งานจัดเก็บข้อมูล  จปฐ

๕)  งานจัดทำ / ปรับปรุงแผนพัฒนาเทศบาลและจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี

๖)  งานโครงการเร่งด่วนจากรัฐบาลเกี่ยวกับโครงการสวัสดิการชุมชน  การส่งเสริมอาชีพ  การสังคมสงเคราะห์ ฯลฯ

๗)  งานอื่นที่ได้รับมอบหมาย

๒  ฝ่ายพัฒนาชุมชน

๒.๑. งานธุรการและงานสารบรรณ  

๑) การจัดระบบงานสารบรรณกอง

๒) การจัดระบบการจัดเก็บเอกสารทางราชการ

๓) การโต้ตอบเอกสารทางราชการ  รับ  ส่ง  ลงทะเบียน  แยกประเภทหนังสือ

๔) การจัดเตรียมวัสดุ  การจัดทำฎีกา  การเบิกจ่ายงบประมาณ การโอนงบประมาณ  การจัดทำทะเบียนควบคุมการเบิกจ่ายงบประมาณให้เป็นปัจจุบัน

๕)การจัดอาคารสถานที่ทำงาน  จัดเตรียมการประชุมอบรมและการติดต่อประสานหน่วยงานภายในและหน่วยงานราชการภายนอก

๖) การพัสดุกอง   การจัดซื้อจัดหาการควบคุมการเบิกจ่ายพัสดุ  ครุภัณท์ การเก็บรักษาและช่วยบำรุงจัดทำทะเบียนคุมให้สามารถตรวจสอบได้

๗) การประชาสัมพันธ์แผนงาน / โครงการประจำกอง

๘) งานอื่นที่ได้รับมอบหมาย

๒.๒.  งานพัฒนาชุมชน 

๑)  การจัดระเบียบชุมชน  เช่น การจัดตั้งชุมชน  การปรับปรุงระเบียบข้อปฏิบัติชุมชนและกลุ่มมวลชลต่างๆ

๒) การส่งเสริมการรวมกลุ่มและการมีส่วนร่วมของประชาชน  เช่น  กลุ่ม / ชมรมผู้สูงอายุ    กลุ่มสตรี  กลุ่มเยาวชน  กรรมการชุมชน ฯลฯ

๓) การจัดตั้งศูนย์บริการข้อมูลชุมชน  กลุ่มผู้สูงอายุ  คนพิการ  กลุ่มสตรี  กลุ่มเยาวชน  และข้อมูลของเทศบาลทั้งหมด

๔) การส่งเสริมและสนับสนุนกีฬาประชาชน  นันทนาการและกิจกรรมของชุมชน

๕) การจัดทำแผนชุมชน

๖) งานอื่นที่ได้รับอบหมาย

หน่วยงานตรวจสอบภายใน

มีหน้าที่ความรับผิดชอบ  จัดวางระบบควบคุมภายในและติดตามประเมินผลการควบคุมภายในตามระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ว่าด้วยการกำหนดมาตรฐาน การควบคุมภายใน พ.ศ. ๒๕๔๔  ข้อ ๕ และ ข้อ ๖